วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทที่3 แผนยุทธศาสตร์ อบต.ดงพระราม


บทที่ 3
การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาท้องถิ่น
3.1 หลักและแนวคิดในการพัฒนาท้องถิ่น
3.1.1 นโยบายรัฐบาล 5 ด้าน
1. ด้านการปฏิรูปการเมือง การปกครองและการบริหาร
1.1 สนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร
1.2 เสริมสร้างมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบ
1.3 จัดทำแผนแม่บทพัฒนาการเมือง
1.4 จัดทำแผนแม่บทการใช้ทรัพยากรสื่อสารของชาติ การใช้เครื่องมือสื่อสารของรัฐ
1.5 ส่งเสริมเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อสารมวลชน
1.6 ส่งเสริมบทบาทขององค์กรภาคเอกชนและภาคประชาชน
1.7 มุ่งเน้นการบริหารทรัพยากรบุคคลและการจัดองค์กรภาครัฐ
1.8 สนับสนุนการกระจายอำนาจอย่างต่อเนื่อง
2. ด้านเศรษฐกิจ
2.1 ภาคเศรษฐกิจฐานราก
- พัฒนาการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่
- สนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นให้มีคุณภาพ
- จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาคแรงงาน ภาคเอกชน และภาครัฐให้
ครอบคลุมถึงการพัฒนาคุณภาพและฝีมือของแรงงานในระดับต่าง ๆ ตลอดจนส่งเสริมให้แรงงานทุกกลุ่มมีงานทำ
- การขยายตัวทางเศรษฐกิจฐานราก โดยการจัดสวัสดิการสงเคราะห์และ
บริการทางสังคมที่จำเป็นอย่างทั่วถึง
2.2 ภาคเศรษฐกิจระบบตลาด
- การพัฒนาอุตสาหกรรมและรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- ส่งเสริมและผลักดันการส่งออก
- ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ
- ส่งเสริมประสิทธิภาพและประหยัดการใช้พลังงาน
- ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจให้มี
คุณภาพ ประสิทธิภาพ โปร่งใส
- จัดทำแผนแม่บท โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา
- สร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจาก
ทรัพยากรธรรมชาติ
- ดำเนินนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการเจรจา
การค้าระหว่างประเทศทั้งกรอบทวิภาคี และพหุภาคี
- ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบการค้าให้มีความพร้อมทันสมัย
2.3 ภาคเศรษฐกิจส่วนร่วม
- การสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ
- สนับสนุนการออมในทุกระดับ
- ดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล เพื่อให้สามารถรองรับการขยายตัวของ
เศรษฐกิจอย่างเพียงพอ และมีการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น
3.ด้านสังคม
3.1 ส่งเสริมความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ของคนในชาติ
3.2 จัดทำแผนปฏิรูปสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์
3.3 เร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้
3.4 พัฒนาสุขภาวะของประชาชนให้ครอบคลุมทั้งมิติทางกาย จิต สังคม และปัญญา
3.5 ส่งเสริมกีฬาขั้นพื้นฐานและกีฬามวลชน
3.6 สร้างความเข้มแข็งของทุกชุมชนในท้องถิ่นและประชาสังคม
3.7 ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มี
สันติสุขอย่างยั่งยืน
3.8 ปฏิรูประบบกระบวนการยุติธรรมโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
3.9 ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงานและบุคลากรในกระบวนยุติธรรม
4. ด้านการต่างประเทศ
4.1 ดำเนินบทบาทเชิงรุกในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี
4.2 ส่งเสริมให้เกิดมิตรภาพและความร่วมมือกับประเทศเพื่อบ้าน และในระดับอนุ
ภูมิภาค ภูมิภาค และระหว่างภูมิภาค
4.3 เสริมสร้างความแข็งแก่งของอาเซียน
4.4 ดำเนินบทบาทสร้างสรรค์ในกรอบสหประชาชาติและกรอบพหุภาคีอื่น ๆ
4.5 คุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ
5. ด้านการรักษาความมั่นคงของรัฐ
5.1 ส่งเสริมการผนึกกำลังระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ
5.2 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554)
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 - 2554)
ตลอดระยะเวลาหกทศวรรษที่ผ่านมา นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ย่อมเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าในพระราชจริยวัตร และ พระราช
กรณียกิจนานัปการที่ได้ทรงบำเพ็ญสร้างความผาสุกแก่พสกนิกรชาวไทย ทั้งยังทรงดำรงไว้ซึ่ง “ธรรม” ทั้งปวง ทรง
เปรียบประดุจแสงชัชวาลที่คอยส่องนำทางการพัฒนาประเทศให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนมาโดยตลอด ด้วยมีพระ
ปณิธานอันแกร่งกล้าที่จะเสียสละประโยชน์สุขส่วนพระองค์เพื่อ
พสกนิกรชาวไทย สมดังที่ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นพระราชสัตยาธิษฐานที่ว่า “เราจะครอง
แผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ทั้งพระราชทานคำสอนและทรงคิดค้นรูปแบบ
กระบวนการพัฒนาที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคน ยึดหลักผลประโยชน์และการมีส่วนร่วมตัดสินใจของ
ประชาชน และภูมิสังคมที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคและท้องถิ่น ทั้งพระราชทาน “ปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง” เพื่อเป็นแนวปฏิบัติตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐในการพัฒนาและบริหารประเทศ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ซึ่งประกาศใช้ในปีมหามงคลนี้
เป็นแผนที่เกิดจากการระดมพลังความคิดและการมีส่วนร่วมของประชาชนชาวไทยจากทุกภาคส่วน
ทุกหมู่เหล่า ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ มาร่วมกันดำเนินการในทุกขั้นตอนอย่างกว้างขวาง และเห็นพ้องร่วมกันอัญเชิญ
“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นแนวทางปฏิบัติ ควบคู่ไปกับการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มีคนเป็น
ศูนย์กลางการพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้เกิดความสมดุล เป็น
ธรรมและยั่งยืน มุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” อันจะเป็นการเสริมสร้างประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนโดยถ้วน
หน้าสมดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสมหามงคลสมัย ปีพุทธศักราช 2549 อันเป็น
ปีแห่งการฉลองเฉลิมพระเกียรติในการครอง สิริราชสมบัติครบ 60 ปี อันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย
ปวงชนชาวไทยทุกภาคส่วน ทุกสาขาอาชีพในทุกภูมิภาคที่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ กับ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาอย่างเป็นขั้นตอนโดยตลอด ขอน้อมเกล้าน้อม
กระหม่อมถวายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย
เดช ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจ และเชื่อมความรักสามัคคีของปวงชนทั้งชาติให้
สมานฉันท์เป็นหนึ่งเดียว โดยมุ่งหวังให้สังคมไทยในอนาคตมีการพัฒนาที่มั่นคงยั่งยืนตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำสังคมไทยไปสู่ความสันติสุขและคนไทยทั้งชาติอยู่ร่วมกันอย่างรู้ รัก สามัคคีภายใต้
ร่มพระบารมีตลอดไป
คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยมีวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์
เป้าหมาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 และการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติและการติดตาม
ประเมินผล สรุปได้ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ประเทศไทย
มุ่งพัฒนาสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) คนไทยมี
คุณธรรมนำความรอบรู้ รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมสันติสุข เศรษฐกิจมีคุณภาพ
เสถียรภาพ และเป็นธรรม สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพและทรัพยากรธรรมชาติที่ยั่งยืน อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการ
ประเทศที่มีธรรมาภิบาล ดำรงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และอยู่ในประชาคม
โลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี”
2. พันธกิจ เพื่อให้การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 มุ่งสู่ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุข
ร่วมกัน” ภายใต้แนวปฏิบัติของ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เห็นควรกำหนดพันธกิจของการพัฒนาประเทศ
ดังนี้
(1) พัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรมนำความรอบรู้อย่างเท่าทัน (2) เสริมสร้างเศรษฐกิจให้มี
คุณภาพ เสถียรภาพ และเป็นธรรม (3) ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความมั่นคงของฐาน
ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม (4) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลภายใต้
ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
3. วัตถุประสงค์
(1) เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่องที่ขับเคลื่อนด้วยการเชื่อมโยง
บทบาทครอบครัว สถาบันศาสนาและสถาบันการศึกษา เสริมสร้างบริการสุขภาพอย่างสมดุลระหว่างการส่งเสริม
การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ และสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
(2) เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชน เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจ
คุณภาพชีวิต และอนุรักษ์ ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นำไปสู่การพึ่งตนเองและลด
ปัญหาความยากจนอย่างบูรณาการ
(3) เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตสู่การเพิ่มคุณค่าของสินค้าและบริการบนฐานความรู้และ
นวัตกรรม รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสาขาการผลิตเพื่อทำให้มูลค่าการผลิตสูงขึ้น
(4) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และระบบบริหารความเสี่ยงให้กับภาคการเงิน การคลัง พลังงาน
ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดแรงงาน และการลงทุน
(5) เพื่อสร้างระบบการแข่งขันด้านการค้าและการลงทุนให้เป็นธรรม และคำนึงถึง
ผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งสร้างกลไกในการกระจายผลประโยชน์จากการพัฒนาสู่ประชาชนในทุกภาคส่วน
อย่างเป็นธรรม
(6) เพื่อเสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและคุณค่าความหลากหลาย
ทางชีวภาพ ควบคู่กับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นฐานที่มั่นคงของการพัฒนาประเทศ และการดำรงชีวิต
ของคนไทยทั้งในรุ่นปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งสร้างกลไกในการรักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างเป็นธรรมและอย่าง
ยั่งยืน
(7) เพื่อเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศสู่ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชนและ
ภาคประชาชน และขยายบทบาทขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควบคู่กับการเสริมสร้างกลไกและ
กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตยให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
4. เป้าหมาย
(1) เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพคนและความเข้มแข็งของชุมชน
(1.1) การพัฒนาคน
1) คนไทยทุกคนได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา
คุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีทักษะในการประกอบอาชีพ มีความมั่นคงในการ
ดำรงชีวิตอย่างมี ศักดิ์ศรี และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
2) เพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเป็น 10 ปี พัฒนากำลังแรงงาน
ระดับกลางที่มีคุณภาพเพิ่มเป็นร้อยละ 60 ของกำลังแรงงานทั้งหมด และเพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและ
พัฒนาเป็น 10 คน ต่อประชากร 10,000 คน
3) อายุคาดหมายเฉลี่ยของคนไทยสูงขึ้นเป็น 80 ปี ควบคู่กับการลดอัตราเพิ่มของ
การเจ็บป่วยด้วยโรคป้องกันได้ใน 5 อันดับแรก คือ หัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หลอดเลือดสมอง และมะเร็ง
นำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน และลดรายจ่ายด้านสุขภาพของบุคคลลงในระยะยาว
(1.2) การพัฒนาชุมชนและแก้ปัญหาความยากจน ทุกชุมชนมีแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแผนชุมชนไปใช้ประกอบการจัดสรรงบประมาณเพิ่มกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมและ
บรรเทาปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และลดสัดส่วนผู้
อยู่ใต้เส้นความยากจนลงเหลือร้อยละ 4 ภายในปี 2554
(2) เป้าหมายด้านเศรษฐกิจ
(2.1) โครงสร้างเศรษฐกิจ สัดส่วนภาคเศรษฐกิจในประเทศต่อภาคการค้าระหว่าง
ประเทศ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๗๕ ภายในปี 2554 และสัดส่วนภาคการผลิตเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 15 ภายใน ปี 2554
(2.2) เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยร้อยละ 3.0-3.5 ต่อปี สัดส่วนหนี้
สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่เกินร้อยละ 50 และความยืดหยุ่นการใช้พลังงานเฉลี่ยไม่เกิน 1.1 ใน
ระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
(2.3) ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สัดส่วนรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้สูงสุด ร้อยละ 20
แรก ต่อรายได้ของกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุดร้อยละ 20 ไม่เกิน 10 เท่าภายในปี 2554 และสัดส่วนผลผลิตของวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่
10
(3) เป้าหมายการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
(3.1) รักษาความสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ให้มีพื้นที่
ป่าไม้ไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๓ และต้องเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 18 ของพื้นที่ประเทศ
รวมทั้งรักษาพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทานไว้ไม่น้อยกว่า 31,000,000 ไร่
(3.2) รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการดำรงคุณภาพชีวิตที่ดี
และไม่เป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศ ตลอดจนคุณภาพชีวิตของคนไทย
(4) เป้าหมายด้านธรรมาภิบาล
(4.1) มุ่งให้ธรรมาภิบาลของประเทศดีขึ้น มีคะแนนภาพลักษณ์ของความโปร่งใสอยู่ที่
5.0 ภายในปี 2554 ระบบราชการมีขนาดที่เหมาะสม และมีการดำเนินงานที่คุ้มค่าเพิ่มขึ้น ลดกำลังคนภาคราชการ
ให้ได้ร้อยละ 10 ภายในปี 2554 ธรรมาภิบาลในภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มขึ้น ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดเก็บ
รายได้และมีอิสระ ในการพึ่งตนเองมากขึ้น ภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง รู้สิทธิ หน้าที่ และมีส่วนร่วมมากขึ้นใน
การตัดสินใจและรับผิดชอบในการบริหารจัดการประเทศ
(4.2) สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลในบริบทไทย ให้มีการ
ศึกษาวิจัย พัฒนาองค์ความรู้ในด้านวัฒนธรรมประชาธิปไตย วัฒนธรรมธรรมาภิบาล และวัฒนธรรมสันติวิธีเพิ่มขึ้น
ในระยะของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัฒน์ที่ปรับเปลี่ยนเร็วและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
จำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่เหมาะสม ดังนี้
(1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มีคุณธรรมนำความรู้ เกิดภูมิคุ้มกัน
(2) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของ
ประเทศ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการกระบวนการชุมชนเข้มแข็งด้วยการส่งเสริมการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำ
ในรูปแบบที่หลากหลาย และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตามความพร้อมของชุมชน
(3) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการผลิตให้สมดุลและยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการปรับ
โครงสร้างเพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตและบริการ บนฐานการเพิ่มคุณค่าสินค้าและบริการจากองค์
ความรู้สมัยใหม่ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรม และการบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งสร้างบรรยากาศการลงทุนที่ดีด้วย
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ การปฏิรูปองค์กร การปรับปรุงกฎระเบียบ การพัฒนามาตรฐานใน
ด้านต่าง ๆ และการดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศให้สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ
ประเทศ พร้อมทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันและระบบบริหารความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ
(4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของ
ฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการรักษาฐานทรัพยากรและความสมดุลของระบบนิเวศเพื่อรักษาสมดุล
ระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน
(5) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ มุ่งเสริมสร้างความ
เป็นธรรมในสังคมอย่างยั่งยืน
6. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติและการติดตามประเมินผล
การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สู่การปฏิบัติ ต้องให้ภาคีพัฒนาทุกภาคส่วนมี
ส่วนร่วมในการขับเคลื่อน โดยนำเอาแนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของแผนมาแปลงไปสู่แผนปฏิบัติการใน
ระดับต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการปรับระบบการจัดสรรทรัพยากร การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ การสร้างองค์ความรู้
รวมทั้งการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ โดยมีแนวทางสำคัญ ดังนี้
(1) เสริมสร้างบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคีพัฒนา จัดทำแผนปฏิบัติการในระดับต่าง ๆ
ที่บูรณาการเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(2) กำหนดแนวทางการลงทุนที่สำคัญตามยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10
(3) เร่งปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ให้
บังเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
(4) ศึกษาวิจัยสร้างองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 สู่การปฏิบัติ
(5) พัฒนาระบบการติดตามประเมินผลและสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จของการพัฒนาในทุก
ระดับ
(6) สนับสนุนการพัฒนาระบบฐานข้อมูลในทุกระดับและการเชื่อมโยงโครงข่ายข้อมูล
ข่าวสารระหว่างหน่วยงานกลางระดับนโยบาย ตลอดจนระดับพื้นที่และท้องถิ่น
50
4.2 แผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดปราจีนบุรี
• วิสัยทัศน์ของจังหวัด (Vision)
“เป็นผู้นำแพทย์แผนไทย ก้าวไกลสู่มาตรฐานเกษตร และอุตสาหกรรม”
• เป้าประสงค์ของจังหวัด (Goals)
1. เป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนการแพทย์แผนไทยในระดับต่าง ๆ
2. เป็นศูนย์กลางการบริการแพทย์แผนไทยทั้งทางด้านป้องกันรักษาและฟื้นฟู
3. เป็นศูนย์กลางการพัฒนาสมุนไพรในระดับชาติ
4. มีระบบผลิตทางการเกษตรที่ดีและได้ผลผลิตที่มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค อันนำไปสู่ระบบ
อุตสาหกรรมเกษตรที่เข้มแข็ง
5. การลงทุนและการประกอบการมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
• ประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด (Strategic Issues)
1. อนุรักษ์ พัฒนาและคุ้มครองภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย
2. พัฒนาภาคเกษตรสู่การเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรที่เข้มแข็ง
3. เสริมสร้างศักยภาพการลงทุนภาคอุตสาหกรรม
• ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์ของจังหวัด (Strategies)
1.การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
2.การพัฒนาองค์ความรู้และการวิจัย
3. พัฒนาการตลาดและส่งเสริมการใช้ในชุมชน
4.การพัฒนาศักยภาพการผลิต
5.การสร้างแรงจูงใจ ให้เกิดการลงทุนด้านอุตสาหกรรม
6.พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและวิสาหกิจ
ชุมชน
4.3 วิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์การพัฒนาอำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี วิสัยทัศน์
การพัฒนาอำเภอในภาพรวม
“ บ้านเมืองน่าอยู่ ปลอดภัย ชุมชนเข้มแข็ง มีวินัย ใส่ใจคุณธรรม นำเกษตรก้าวหน้า
พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ”
• วิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์การพัฒนาอำเภอ
“ เชิดชูคุณธรรม ก้าวล้ำการเกษตร จัดเขตอุตสาหกรรม นำเที่ยวป่าใหญ่ ”
เชิดชูคุณธรรม อำเภอเมืองปราจีนบุรี มุ่งดำเนินการโครงการที่เป็นรูปธรรม ด้านศีลธรรมและ
จริยธรรมเพื่อให้ประชาชน ดำรงชีวิตประจำวันในสังคม เป็นไปโดยปกติสุข
ก้าวล้ำการเกษตร อำเภอเมืองปราจีนบุรีมี พืช ผัก ผลไม้ มากมาย และสามารถพัฒนาพืช
พันธุ์ ผลไม้ออกจำหน่ายได้อย่างกว้างขวาง และมีประสิทธิภาพทั้งด้าน
การส่งออกต่างประเทศ เพื่อสร้างดุลการค้าให้ประเทศอีกทางหนึ่ง
จัดเขตอุตสาหกรรม อำเภอเมืองปราจีนบุรี ถูกกำหนดให้เป็นเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเขตที่ 3
ทำให้ นักลงทุนอุตสาหกรรมได้รับสิทธิประโยชน์ จากการลงทุนใน
กรุงเทพฯ และจังหวัดรอบปริมณฑล
นำเที่ยวป่าใหญ่ อำเภอเมืองปราจีนบุรี มีแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ด้านธรรมชาติ ประวัติ
ศาสตร์ โบราณวัตถุโบราณสถาน และศาสนา รวมทั้งประเภทวัฒนธรรม
ประเพณีกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีสถานบริการ โรงแรมที่พัก และร้านอาหาร
ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้การกำหนดวิสัยทัศน์ บรรลุ
วัตถุประสงค์ ของการพัฒนาอำเภอ อำเภอเมืองปราจีนบุรีจึงได้กำหนด ภารกิจในการ
พัฒนาอำเภอ ดังนี้
• ภารกิจในการพัฒนาอำเภอ
1.ด้านการพัฒนาการเกษตร
2.ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม
3.ด้านการพัฒนาพาณิชยกรรมและบริการ
4.ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม และการสื่อสาร
5.ด้านการพัฒนาชุมชนเมือง การจัดทำผังเมืองจังหวัด การใช้ที่ดิน
6.ด้านการพัฒนา สาธารณสุข อนามัยและสิ่งแวดล้อม
7.ด้านการพัฒนา แรงงาน สวัสดิการ ส่งเสริมรายได้ และมีการมีงานทำ
8.ด้านการพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
9.ด้านการพัฒนา การศึกษา การกีฬา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
10.ด้านการพัฒนา การอำนวยความยุติธรรม ความมั่นคงปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย
11.ด้านการพัฒนา การท่องเที่ยว
• วัตถุประสงค์การพัฒนาอำเภอ
1. ด้านการพัฒนาการเกษตร
1.1 เพื่อพัฒนาการผลิต โดยส่งเสริมให้มีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงในพื้นที่และส่งเสริมการ
เลี้ยง
ปศุสัตว์นี้ตรงกับความต้องการของตลาด
1.2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตในพื้นที่พืชพันธ์ ผลไม้การเกษตรที่ให้ได้คุณภาพได้
มาตรฐาน
1.3 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรในพื้นที่ตาม
นโยบายการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์
1.4 เพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้กับเกษตร
1.5 เพื่อลดความเสี่ยงอันเนื่องจากความไม่แน่นอนของสภาพภูมิอากาศ และความแปรปรวนของ
ราคาผลผลิตทางการเกษตร
2.ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม
2.1 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม ให้มี ศักยภาพ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดย่อมให้มีการ
เชื่อมโยงกับ อุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เพื่อผลดี ด้านการส่งออก
2.2 เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมในครัวเรือน เพื่อเชื่อมโยงกับการผลิตใน
ภาคอุตสาหกรรมและพัฒนาหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เข้าสู่มาตรฐานสากล
2.3 เพื่อส่งเสริม อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร ให้ใช้วัตถุดิบในพื้นที่
3.ด้านการพัฒนา ด้านพาณิชยกรรมและการบริการ
3.1 เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการค้าปลีกให้มีความเข้มแข็งเพิ่มขึ้น
3.2 เพื่อกระจายรายได้ให้ ผู้ประกอบการระดับเล็กมีโอกาสประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น
3.3 เพื่อขยายตลาดการค้าและการบริการให้มีความทัดเทียมกับภูมิภาค
3.4 เพื่อปรับปรุงระบบพาณิชยกรรม และการบริหารให้ทันสมัยต่อ เทคโนโลยีในปัจจุบัน
3.5 เพื่อตอบสนองการบริการให้ได้มาตรฐานมากขึ้น
4.ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคม และการสื่อสาร
4.1 เพื่อพัฒนาระบบการขนส่ง ทางบก ทั้งรถโดยสารทางรถไฟที่เชื่อมโยงในพื้นที่ให้ได้มาตรฐาน
4.2 เพื่อปรับปรุง ซ่อมแซม เสริมสร้าง เส้นทางคมนาคมในพื้นที่ให้สามารถรองรับปริมาณ การ
สัญจรที่เพิ่มขึ้นทุกวัน
4.3 เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสาร เทคโนโลยี ด้าน สารสนเทศ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงใน
ยุคปัจจุบัน
4.4 เพื่อพัฒนาระบบด้านการไฟฟ้า ด้านการประปา และ ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานให้มี
คุณภาพและมาตรฐาน เพิ่มขึ้น
5.ด้านการพัฒนาชุมชนเมือง การจัดทำผังเมืองจังหวัด การใช้ที่ดิน
5.1 เพื่อพัฒนา ผังเมืองในพื้นที่ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมสภาพเศรษฐกิจ สภาพทาง
กายภาพชีวิตที่ดีของสังคม โดยให้เป็นเมืองน่าอยู่เชิดชูคุณภาพ
5.2 เพื่อจัดที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม เพิ่มขึ้น
5.3 เพื่อจัดสรร ทรัพยากรที่ดินให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้ประโยชน์ในอนาคต
6.ด้านการพัฒนาสาธารณสุข อนามัย และสิ่งแวดล้อม
6.1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีสุขภาพดีถ้วนหน้า มีอายุชัยเพิ่มขึ้น อัตราการเจ็บป่วยลดลง
6.2 เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสมีหลักประกันสุขภาพ เท่าเทียมกันโดยทั่วถึงเพิ่มขึ้น
6.3 เพื่อยกระดับมาตรฐานแพทย์ แผนสมุนไพรไทย ให้มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น และ ขยายตลาดไปสู่
ระดับภูมิภาค และระดับประเทศเพิ่มขึ้น
6.4 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษา สุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น
6.5 เพื่อพัฒนาระบบการบริการสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม บูรณาการทั้ง ภาครัฐ และเอกชน
รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรม สุขภาพอนามัยให้ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมาย
6.6 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และระบบเครือข่ายให้เชื่อมภูมิปัญญา ท้องถิ่นด้านสุขภาพและ
สิ่งแวดล้อม
7.ด้านการพัฒนาแรงงาน สวัสดิการ ส่งเสริมรายได้และมีงานทำ
7.1 ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 23,000 บาท / คน/ ปี
7.2 เพื่อสนับสนุนนโยบายการแก้ไขปัญหา ความยากจนให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้นไป
7.3 เพื่อยกระดับ ฝีมือ มาตรฐาน ด้านแรงงาน แก่ประชาชนในพื้นที่
7.4 เพื่อส่งเสริม สวัสดิการให้มีความมั่นคง ลดปัญหาการว่างงาน และ การอพยพการหางานใน
ศูนย์กลาง
8.ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8.1 เพื่อปลูกจิตสำ นึกให้ ประชาชนในพื้นที่ มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู
ทรัพยากรธรรมชาติ และและใช้ประโยชน์ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
8.2 เพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารการจัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างมี
ประสิทธิภาพ เป็นธรรม และยั่งยืน
8.3 เพื่อรักษาสมดุล อัตราการขยายตัวของชุมชนให้สอดคล้อง กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
8.4 เพื่อส่งเสริมระบบการกำจัดขยะมูลฝอยให้เป็นไปตามความปลอดภัยไม่ส่งผลกระทบกับ
ประชาชนในพื้นที่ รวมทิ้งขยะมูลฝอยหมุนเวียนกลบมาใช้ใหม่
9.ด้านการพัฒนาศึกษา การกีฬา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
9.1 เพื่อเสริมให้ เยาวชนตลอดทั้งประชาชนมีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูงโดยควบคู่คุณธรรม
9.2 เพื่อส่งเสริมรักษาธรรมเนียม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชุนชนให้เยาวชนรุ่นหลัง
ตะหนักเห็นคุณค่า และลดกระแสวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามาอิทธิพลต่อ ชุมชน
9.3 เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรมให้แก่ประชาชน เพิ่มขึ้น เพื่อ ลดปัญหาด้านต่าง ๆ ที่
ส่งผลในเชิงลบต่อชุมชน ในระดับหนึ่ง
10. ด้าน การพัฒนา การอำนวยความยุติธรรม ความมั่นคง ปลอดภัย ความสงบ
เรียบร้อย
10.1 เพื่อสนับสนุนนโยบาย การขจัดปัญหายาเสพติดของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป
10.2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของภาครัฐ
ภาคเอกชนตลอดจน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เกิดความโปร่งใส ยุติธรรม ในสังคมเพิ่มขึ้น
10.3 เพื่อส่งเสริมนโยบายการจัดระเบียบสังคมให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้นเพื่อรักษาความสงบ
เรียบร้อยและศีลธรรมอันดีแก่สังคม
11.ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว
11.1 เพื่อพัฒนาอำเภอเมืองปราจีนบุรีให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ ให้มีการ
เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ
11.2 เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ ให้เป็นที่รู้จักให้กว้างขวางมาก
ยิ่งขึ้น
11.3 สร้างจิตสำนึกของประชาชนในพื้นที่ให้ตระหนักในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีน้ำใจให้บริการ
4.4 แนวทางการพัฒนาตามนโยบายริเริ่มของท้องถิ่นและผลการพัฒนาที่ผ่านมา
ประกอบด้วย 5 แผนงาน ดังนี้
1. แผนงานพัฒนาเศรษฐกิจ
1) แนวทางการพัฒนา
- เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ
- เพื่อแก้ปัญหา ตลาดรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร
- เพื่อส่งเสริมการมีอาชีพเสริมและลดปัญหาการว่างงานในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว
- เพื่อยกระดับรายได้ของประชาชน
- เพื่อส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
- พัฒนาแหล่งธรรมชาติให้เป็นจุดท่องเที่ยว
2) เป้าหมายการพัฒนา
- ปรับปรุงพันธุ์พืช และจัดให้มีการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตร ในกลุ่มเกษตรกร
- จัดให้มีตลาดกลางในการรับซื้อผลผลิตในระดับตำบลที่เป็นแหล่งชุมชน
- จัดตั้งกลุ่มทำอาชีพเสริมอย่างน้อยหมู่บ้านละกลุ่ม กลุ่มละ 30 ครัวเรือน
- ยกระดับรายได้ของประชาชนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 10-ร้อยละ 15
- แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรในกลุ่มเกษตรกรที่ประสบปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ
- ปรับปรุงแหล่งธรรมชาติให้มีความสะดวกปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว
3) ผลการพัฒนา
- จัดหาพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงและตรงกับความต้องการของตลาด อบรมให้ความรู้เพิ่มเติมให้ข้อมูล
- ข่าวสารด้านการตลาดที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
- ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน โดยจัดให้มีร้านค้าชุมชน
- ส่งเสริมครัวเรือนทำอาชีพเสริม
- จัดสรรเงินกองทุนหมุนเวียน
- ให้ความรู้ในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรโดยศึกษาจากกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ
- ประชาสัมพันธ์ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
2. แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
1) แนวทางการพัฒนา
- เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ ของ
ประชาชน
-
2) เป้าหมายการพัฒนา
- ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและซ่อมแซมถนนที่ชำรุดทรุดโทรมในชุมชน
- ขอติดตั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะ
- ขยายเขตไฟฟ้าให้ทั่วถึงทุกครัวเรือน
- ติดตั้งไฟฟ้ารายทางให้ครบทุกหมู่บ้าน
- วางท่อระบายน้ำในหมู่บ้านที่มีน้ำท่วมขัง
-
3) ผลการพัฒนา
- โครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคม
- โครงการขยายเขตโทรศัพท์
- โครงการขยายเขตไฟฟ้า
- โครงการติดตั้งไฟแสงสว่างรายทาง
- โครงการวางท่อระบายน้ำ
3. แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำ
1) แนวทางการพัฒนา
- เพื่อให้ประชาชนมีน้ำสะอาดเพียงพอต่อการอุปโภค บริโภคตลอดทั้งปี
2) เป้าหมายการพัฒนา
- ขุดลอกคลองที่มีสภาพตื้นเขิน
3) ผลการพัฒนา
- ขุดลอกแหล่งน้ำที่ตื้นเขิน
4. แผนงานพัฒนาการเมืองและการบริหาร
1) แนวทางการพัฒนา
- เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการปกครองท้องถิ่น
- เพื่อให้การบริหารงานและการปฏิบัติงานของอบต. มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- เพื่อพัฒนาบุคลากร พนักงานส่วนตำบล สมาชิกสภา อบต. ให้มีความรู้ คุณธรรม และจริยธรรมในการ
ปฏิบัติงาน
- เพื่ออำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ผู้มาติดต่องานประชาชน รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้ทั่วถึง
2) เป้าหมายการพัฒนา
- สร้างจิตสำนึกประชาชนในเขตท้องถิ่นให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกตั้งและจัดตั้งกลุ่มชุมชน
- เจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง สมาชิกอบต.ทุกคน มีความรู้ความเข้าใจหน้าที่การปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
- ปรับปรุงวัสดุ ครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ
3) ผลการพัฒนา
- จัดให้มีการแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส่งเสริมการจัดเวทีประชาคมการสัมมนาเพื่อระดม
ความคิดเห็น
- จัดหาปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้และต่อเติมสถานที่ปฏิบัติงาน
- จัดอบรมเจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง สมาชิกอบต. สร้างจิตสำนึกให้มีความรู้ คุณธรรมและจริยธรรมในการ
ปฏิบัติงาน
5. แผนงานพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) แนวทางการพัฒนา
- เพื่อสร้างจิตสำนึกประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ให้มีความสมบูรณ์สะอาดสวยงาม
- เพื่อแก้ไขปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอย ระบบการบำบัดน้ำเสีย
- เพื่อแก้ไขปัญหาดินเสื่อมสภาพ น้ำเสีย และมลพิษทางอากาศ
2) เป้าหมายการพัฒนา
- ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ดูแลการทำลายสภาพแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
- ปรับปรุงระบบการกำจัดมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ และระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพ
- โรงงานอุตสาหกรรม
3) ผลการพัฒนา
- ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญด้านธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้ปลูก
ไม้เศรษฐกิจ
- จัดหาที่ทิ้งขยะ กำจัดขยะ และจัดระบบบำบัดน้ำเสียที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ใช้มาตรการทางกฎหมายกับโรงงานอุตสาหกรรมหรือบุคคลผู้ละเมิดและก่อปัญหาให้กับแหล่งน้ำ
ธรรมชาติเด็ดขาดและรุนแรง
4.5 ผลการวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาท้องถิ่น (SWOT Analysis)
1. แบบการวิเคราะห์ศักยภาพ การพัฒนาท้องถิ่นด้านเมืองน่าอยู่
W จุดอ่อน (Weakness) O โอกาส (Opportunity)
1.การบริหารจัดการให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 1.รัฐบาลมีนโยบายที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา
ในการกำหนดทิศทางการพัฒนายังไม่สมบูรณ์เต็มที่ เศรษฐกิจและสังคมระดับฐานราก
2.การปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่เข้มแข็งกระบวนการ 2.การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เลือกตั้งผู้บริหาร
มีส่วนร่วมของประชาชนยังอยู่ในระดับต่ำ ท้องถิ่นโดยตรง
3.ยังไม่มีระบบสารสนเทศที่ประชาชนเข้าถึงอย่างทั่วถึง 3.ยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
4.การเข้าถึงสารสนเทศของประชาชนอยู่ในระดับต่ำ สังคม ฉบับที่ 10 คือ การพัฒนาคุณภาพคนและ
5.ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานยังไม่ทั่วถึง สังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้,
6.งบประมาณยังไม่เพียงพอในการพัฒนาด้าน การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็น
โครงสร้างพื้นฐาน รากฐานที่มั่นคงของประเทศ, การปรับโครงสร้าง
7.ปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ เช่นวาตภัย อุทกภัย ทางเศรษฐกิจให้ดุลและยั่งยืน ,การพัฒนาบนฐาน
8.การถ่ายโอนภารกิจงบประมาณและบุคลากร ความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความ
ไม่เป็นไปตามที่กำหนด มั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมและการ
เสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ
4.นโยบายการปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การ
ต่างประเทศ ด้านการรักษาความมั่นคงของรัฐ
5. การกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.กำหนด
แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ.2542
T อุปสรรค (Threats) S จุดแข็ง (Strengths)
1. ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดการ 1. ผู้นำชุมชน ประชาชนให้สำคัญในการพัฒนาด้าน
ให้ความสำคัญในการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหาร โครงสร้างพื้นฐาน การบริหาร การเมือง การปกครอง
และการ พัฒนาชุมชน การรักษาความสงบเรียบร้อย ทรัพยากรธรรมชาติและ
2. ขาดงบประมาณในการขยายการให้บริการด้าน สิ่งแวดล้อม
สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน 2. ไม่มีปัญหาอาชญากรรม โจรกรรม ยาเสพติดใน
3.การส่งเสริมทางด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีต่อประชาชน หมู่บ้าน
ยังน้อยและไม่ทั่วถึง 3. สังคมส่วนใหญ่เป็นสังคมชนบท ยังมีความรัก
4.เทคโนโลยีและการรับรู้ของประชาชนไม่ทันต่อการ ความเอื้ออาทรต่อกันสูง
เปลี่ยนแปลง 4. ผู้นำชุมชนและผู้ปฏิบัติงานในตำบลมีศักยภาพ
5.การสื่อสารข้อมูลข่าวสารยังไม่เพียงพอ ความเสียสละและความรับผิดชอบต่อชุมชน และ
6.ประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเสนอ ให้ความร่วมมือต่อทางราชการสูง
โครงการและแนวทางการพัฒนา 5. ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในการ
พัฒนาหมู่บ้านตามนโยบายของรัฐบาล

2. แบบการวิเคราะห์ศักยภาพ การพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แพทย์แผนไทย
เกษตรและอุตสาหกรรม
W จุดอ่อน (Weakness) O โอกาส (Opportunity)
1. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย 1. ความสมบูรณ์ทางธรรมชาติและกระแสอนุรักษ์ทาง
และยังขาดการบริหารการจัดการอย่างเป็นระบบ ธรรมชาติ ก่อให้เกิดโอกาสและประโยชน์เชิงอนุรักษ์
2. ขาดการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยว 2. สถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม (เชื่อมโยง
อย่างต่อเนื่องและจริงจัง กระแสการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์)
3. ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย 3.ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ สามารถทำ
ให้ ที่ถูกต้อง ผลผลิตทางการเกษตรออกนอกฤดูกาลและราคาสูง
4 ขาดความรู้ในด้านการจัดการการผลิตและแปรรูป ขึ้นได้
5.ภาคเกษตรและอุตสาหกรรมขนาดย่อมและ 4.กระแสความสนใจเรื่องสุขภาพและอาหารปลอดสารพิษ
อุตสาหกรรมในครัวเรือนยังขาดการพัฒนาในมิติด้าน 5.การส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ การใช้ปุ๋ยชีวภาพ
การตลาด การผลิต การเพิ่มมูลค่าและการลงทุน 6.การถ่ายโอนภารกิจศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี
6.การใช้ประโยชน์จากการลงทุนของภาครัฐไม่เต็มที่ ทางการเกษตร
และมีปัญหาระบบการจัดการ Farming System 7.การสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล.
7.ขาดการสร้างระบบธุรกิจและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 8.นโยบายด้านเศรษฐกิจฐานราก เศรษฐกิจระบบการ
8. ขาดแคลนแหล่งน้ำในฤดูแล้ง ตลาด เศรษฐกิจส่วนร่วม
T อุปสรรค (Threats) S จุดแข็ง (Strengths)
1.ขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 1.มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม
2.ไม่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง 2.มีการดำรงอยู่ของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเกิดสภาวะน้ำท่วมทุกปีทำ 3. พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงสามารถปลูกพืชได้
พืชผลการเกษตรเสียหาย หลากหลายชนิด
4.ขาดตลาดรองรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม 4.ประชาชนให้ความสนใจในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาแพทย์
5.ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ แผนไทยในท้องถิ่น
6.พื้นที่ตั้งอยู่ติดเขตอำเภอเมืองทำให้การแข่งขันด้าน 5.ประชาชนให้ความสนใจในการสืบสานประเพณี
การแพทย์แผนไทยมีมาก วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
8.ขาดการส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรอย่างจริงจัง 6.มีการรวมกลุ่มที่ชัดเจนในการให้ความช่วยเหลือแก่
9. อำนาจตามกฎหมายที่ท้องถิ่นไม่สามารถ เข้าไป สมาชิกเกษตรกร
ดูแลการขุดหน้าดิน การขุดบ่อลูกรังในพื้นที่ของ 7.เส้นทางการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว
เอกชนได้ 8.เป็นศูนย์กลางการคมนาคมและพาณิชย์ของ อ.เมือง
ปราจีนบุรี ติดกับ อ.ประจันตคาม
3. แบบการวิเคราะห์ศักยภาพ การพัฒนาท้องถิ่นด้านการส่งเสริมประเพณี คุณภาพชีวิต และ
ชุมชนเข้มแข็ง
W จุดอ่อน (Weakness) O โอกาส (Opportunity)
1.เยาวชนรุ่นใหม่ยังให้ความสำคัญกับการสืบสาน 1.รัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ.
ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นน้อย การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 อย่างจริงจัง
2.ปัญหาการระบาดของยาเสพติดในพื้นที่ใกล้เคียง 2.นโยบายด้านการพัฒนาสังคมไทยให้เกิดความรัก
และกระแสวัตถุนิยม ความสามัคคี ความสมานฉันท์ สร้างความเข้มแข็งใน
3.ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ชุมชน
4.การบริการด้านสุขภาพมีไม่เพียงพอ 3.วิสัยทัศน์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 10
5.ปัญหาการระบายของโรคไข้เลือดออก ไข้หวัดนก ส่งเสริมสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันภายใต้แนวปฏิบัติ“
6.ปัญหาการขาดแคลนที่ทำกินและที่อยู่อาศัย ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
7.ผู้นำชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจและ ความสนใจ 4.ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ในการทำหน้าที่ฐานะกรรมการสถานศึกษา ในการร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิต การส่งเสริมอาชีพ
8.ความเข้าใจและใส่ใจในกิจกรรมด้านการศาสนาและ การอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีท้องถิ่นอย่างจริงจัง
ส่งเสริม วัฒนธรรมยังมีน้อย 5.ประชาชนและผู้บริหารท้องถิ่นให้ความสนใจในการ
9.ขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามหลัก การศึกษาอย่างจริงจัง
เศรษฐกิจพอเพียง
T อุปสรรค (Threats) S จุดแข็ง (Strengths)
1.การไหลบ่าเข้ามาของวัฒนธรรมต่างประเทศประกอบ 1.ประชาชน ผู้นำชุมชน ครู อาจารย์และผู้นำท้องถิ่น
กับความอ่อนแอของสังคมไทย ทำให้เกิดความเปลี่ยน มีการตื่นตัวและมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมปฏิรูปการศึกษา
แปลง ในวิถีการดำเนินชีวิตอย่างไทย โดยรับเอา เพื่อบุตรหลานของตนเอง
วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตของต่างชาติมา 2.มีสภาวัฒนธรรมตำบลเป็นองค์กรที่ให้ความสนับสนุน
ยกย่อง ยึดถือ ปฏิบัติอย่างผิด ๆ และไร้เหตุผล การดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์และส่งเสริมงานด้าน
2.ประชาชนส่วนใหญ่รายได้ไม่เพียงพอแก่การดำรงชีวิต ประ เพณีและวัฒนธรรม
3.ประชาชนยังขาดความเข้าใจในการบริหารจัดการงบ 3.มีโครงการ Internet ตำบลที่จะเสริมศักยภาพและโอกาส
ประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยังยืน ทางการศึกษา
4.งบประมาณในการบริหารจัดการด้านคุณภาพชีวิตยัง 4.ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจในสืบสานอนุรักษ์
5.เยาวชนยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้ ศิลปะ จารีต ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นและศาสนา
เทคโนโลยีสมัยใหม่ 5.ผู้นำชุมชน ประชาชนให้ความสำคัญกับการพัฒนา
คุณภาพชีวิต การส่งเสริมอาชีพ เพื่อสร้างขุมชนให้เข้มแข็ง
4.6 กลยุทธ์เพิ่มศักยภาพ ( Strategy to increase potential ) – S+O
การพัฒนาท้องถิ่นด้านเมืองน่าอยู่
- ส่งเสริมชุมชนให้เป็นสังคมที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน การเมือง การปกครอง
การบริหาร การรักษาความสงบเรียบร้อย และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ประชาชนมีความรัก
ความสามัคคี สมานฉันท์ เข้มแข็ง พึ่งพาตนเองเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สะอาดสวยงาม เป็นระเบียบและปลอดภัย
การพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แพทย์แผนไทย เกษตร อุตสาหกรรม
- ส่งเสริมแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การส่งเสริมฟื้นฟูการท่องเที่ยวในท้องถิ่น การ
ส่งเสริมการพัฒนาด้านการแพทย์แผนไทย ทั้งด้านการประชาสัมพันธ์ การเพาะปลูกพืชสมุนไพร การส่งเสริมการ
เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรให้ก้าวสู่มาตรฐานด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนา
อุตสาหกรรมในครัวเรือนให้ก้าวสู่มาตรฐานสากลและมีคุณภาพมากขึ้น
การพัฒนาท้องถิ่นด้านส่งเสริมประเพณี คุณภาพชีวิต และชุมชนเข้มแข็ง
- มุ่งส่งเสริมให้ประชาชน ผู้นำชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
พัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา สังคม สาธารณสุข การกีฬา การสังคมสงเคราะห์ ด้านเศรษฐกิจ
เพิ่มรายได้เพื่อสร้างให้เป็นชุมชนเข้มแข็งภายใต้การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
4.7 กลยุทธ์สร้างภูมิคุ้มกัน ( Strategy to build security ) – S+T
การพัฒนาท้องถิ่นด้านเมืองน่าอยู่
- ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ สร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารและการพัฒนาชุมชน
รวมทั้งการนำเสนอข้อมูลความต้องการที่แท้จริงของชุมชน
การพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แพทย์แผนไทย เกษตร อุตสาหกรรม
- มุ่งส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การพัฒนาภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ประสานงานทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องพร้อมสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงให้เกิดการผสมผสานระหว่างภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน มุ่งส่งเสริม
การเกษตรอินทรีย์และส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือนให้เข้าสู่ระบบรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
การพัฒนาท้องถิ่นด้านส่งเสริมประเพณี คุณภาพชีวิต และชุมชนเข้มแข็ง
- มุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิต การเพิ่มรายได้ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการดำเนินงานของ อบต.เน้นการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีและก่อให้เกิดการรักษาวัฒนธรรมและวิถี
การดำรงชีวิตอย่างไทย เพื่อป้องกันการรับเอาวัฒนธรรมและวิถีการดำรงชีวิตของต่างชาติแบบผิด ๆ เข้ามาสู่ชุมชน
4.8 กลยุทธ์เร่งพัฒนา ( Strategy to accelerate development ) – W+O
การพัฒนาท้องถิ่นด้านเมืองน่าอยู่
- เปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นจุดศูนย์กลางการพัฒนาด้านต่าง ๆ และกำหนดแผนการพัฒนาให้ตรงตาม
สภาพความต้องการของประชาชนและสภาพของชุมชน
การพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แพทย์แผนไทย เกษตร อุตสาหกรรม
- มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับภาคประชาชนเข้าใจและมีจิตสำนึกในการเพิ่มมูลค่าการผลผลิต
สินค้าเกษตร อุตสาหกรรม การสนับสนุนการพัฒนาปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศการอนุรักษ์และสืบสานภูมิ
ปัญญาแพทย์ท้องถิ่นด้านการแพทย์แผนไทย
การพัฒนาท้องถิ่นด้านส่งเสริมประเพณี คุณภาพชีวิต และชุมชนเข้มแข็ง
- มุ่งเน้นให้เกิดการประสานงานระหว่างภาครัฐและประชาชน เพื่อให้เกิดการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต
ของประชาชนทุก ๆ ด้านตามแนวนโยบายของรัฐบาล ร่วมทั้งการอนุรักษ์สืบสานจารีต ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิ
ปัญญาท้องถิ่นรวมทั้งการทำนุบำรุงด้านการศาสนา เพื่อให้เกิดสังคมที่พึงประสงค์ เข้มแข็งและมีดุลยภาพอย่าง
ยั่งยืน
4.9 กลยุทธ์แก้วิกฤติ ( Strategy to solve the crisis ) – W+T
การพัฒนาท้องถิ่นด้านเมืองน่าอยู่
- เน้นการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน พร้อมทั้งสนับสนุน
งบประมาณในด้านการบริการโครงสร้างพื้นฐานที่ดี การรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน การพัฒนาด้านคุณธรรม
จริยธรรม การมีส่วนร่วม และการอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมพื้นที่ให้สะอาดสวยงาม
การพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แพทย์แผนไทย เกษตร อุตสาหกรรม
- การจัดสรรงบประมาณในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสินค้า การ
แปรรูป การจำหน่าย การบริหารจัดการแหล่งน้ำรวมทั้ง การส่งเสริมฝึกอบรมให้ความรู้ทั้งด้านการแพทย์แผนไทย
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ
การพัฒนาท้องถิ่นด้านส่งเสริมประเพณี คุณภาพชีวิต และชุมชนเข้มแข็ง
- มุ่งเน้นการสอดแทรกเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปะ จารีต ประเพณี วัฒนธรรมและวิถีการดำรงชีวิตอย่างไทย
ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ได้รับบริการและสวัสดิการที่ดีครบถ้วนทั้งในระดับบุคคลและครอบครัว การ
แก้ไขปัญหาความยากจน การสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ภายใต้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้
ศิลปวัฒนธรรมและการดำรงชีวิตอย่างไทยคงอยู่ได้ภายใต้สภาพการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์


กลับ                                                                 สารบัญ                                                                ต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น