วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง


กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง: รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัด Management Process for Strengthening Communities Patterns, Factors and Indicators
วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับ ที่ 2/2553
 บทคัดย่อ
 การศึกษาวิจัยเรื่อง “กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง: รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัด”  มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อศึกษาความเป็นมา  กระบวนการจัดการ รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งของไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็งในสังคมไทย 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการจัดการ รูปแบบ ปัจจัยและตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งของสังคมไทย 4) เพื่อนำเสนอแนวทางและองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับกระบวนการเสริมสร้างตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งของไทย อันนำไปสู่การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืน  การศึกษาวิจัยนี้  อาศัยแนวทางผสมผสานทั้งการศึกษาในเชิงเอกสาร (documentary study) การศึกษาวิจัยในภาคสนามโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณ (quantitative research) และเชิงคุณภาพ (qualitative research)
 ผลการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็งในสังคมไทย  พบว่า มีกระบวนการจัดการที่สำคัญ  7 ประการที่ก่อให้เกิดศักยภาพของการพัฒนาชุมชนไปสู่ความเข้มแข็ง   คือ 1)  กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 2)  กระบวนการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้  3)  กระบวนการการฟื้นฟู  ผลิตซ้ำและสร้างใหม่  4) กระบวนการใช้สิทธิชุมชนและข้อบัญญัติของชุมชน  5) กระบวนการตัดสินใจร่วมกันของชุมชน 6) กระบวนการของเครือข่ายการพัฒนา  และ 7) กระบวนการด้านการจัดการตนเอง
 ผลการศึกษาตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็ง พบว่า มีประโยชน์ 6 ประการในการพัฒนาชุมชน คือ 1) การนำตัวชี้วัดชุมชนเข้มแข็งมาเป็นเป้าหมายหรือทิศทางในการดำเนินงาน  2) การนำตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเรียนรู้และประเมินผลตนเอง  3) การนำตัวชี้วัดเป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้มองเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน 4) การใช้ตัวชี้วัดมาเป็นกระบวนการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพให้กับชุมชน 5) การใช้ตัวชี้วัดเป็นกระบวนการเพื่อถักทอความสัมพันธ์ของคนในชุมชนก่อให้เกิดพลังการมีส่วนร่วมในการพัฒนา และ 6) การใช้ตัวชี้วัดเป็นกระบวนการสร้างแนวทางใหม่ในการประเมินผลงานพัฒนา ซึ่งรูปแบบดังกล่าวเป็นการประยุกต์ใช้ทั้งในระดับนโยบายและในระดับชุมชน
 ส่วนผลเกี่ยวกับการศึกษารูปแบบตัวชี้วัดการจัดการชุมชนเข้มแข็งในระดับชุมชน พบว่า  มีรูปแบบตัวชี้วัดที่สำคัญ 4  ด้าน  คือ 1) ด้านเศรษฐกิจ มีตัวชี้วัดย่อย 4 ตัวชี้วัด ได้แก่  การผลิตและการบริโภคในชุมชน  กลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชน  การจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจ  และความสามารถในการพึ่งตนเองด้านเศรษฐกิจของชุมชน  2) ด้านสังคมและองค์กรชุมชน มีตัวชี้วัดย่อย 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ การจัดการและการบริหารองค์กรชุมชน  ความสัมพันธ์ภายในองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน  3) ด้านวัฒนธรรมและการเรียนรู้ มีตัวชี้วัดร่วม 3 ตัวชี้วัด  ได้แก่ การอนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น  การเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน  การจัดการตนเองทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา  4) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการชุมชนเข้มแข็ง คือ 1) ในระดับชุมชน ชุมชนควรมีการส่งเสริมและจัดตั้งองค์กรชุมชนในมิติของการจัดการตนเอง  เสริมสร้างและประสานเครือข่ายในชุมชนเพื่อแลกเรียนรู้ร่วมกัน และให้ความร่วมมือกับภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน 2) ระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาชุมชนในระดับพื้นที่และกิจกรรมของชุมชน   โดยมีการกำหนดมาตรการในแผนแม่บทชุมชน จัดสรรงบประมาณสนับสนุนโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน  3) ระดับหน่วยงานภาครัฐหรือในระดับนโยบาย  รัฐควรปกป้องฐานทรัพยากร ภูมิความรู้ วัฒนธรรม และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายใต้กระแสชุมชนท้องถิ่นที่เชื่อมโยงการเรียนรู้ในกระแสโลกาภิวัตน์ เพื่อนำไปสู่การจัดการที่มีประสิทธิภาพอันเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน รวมทั้งควรเสริมสร้างการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสังคมเพื่อให้ประชาชนในชุมชนต่าง ๆ สามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและจิตใจ 4) ศักยภาพของผู้นำชุมชน ในเชิงการถ่ายโอนความรู้ทักษะ การจัดการจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง หรือสมาชิกรุ่นหลัง

 This paper, “Management Process for Strengthening Communities: Patterns Factors and Indicators” is aimed at the study of history of these procedures factors and measurement indexes, related conditions to these procedures, difference among Thai strong communities management, procedures, and social development processes. This research integrates document research, field quantitative research, and qualitative research
 The results from this study shows that there are seven factors that generate community development potential including: participation of locals, experience sharing, recreation procedures, rules obligation, community, network, and self-organizing programs.
 The results from the study of strong community measurement models indicate that there are six similar utilities: using the index from these models to set operational goals, to assess and to evaluate, to substantiate principles, to generate stronger relations among the community, and to use this as a prototype for the development of new guidelines.
 The results from the study of the forms of this measurement index show that there are four important factors: economical indexes such as internal production consumption, internal economic activities, resource allocation, social indexes such as community management, internal relations and networks, cultural study indexes such as culture and local wisdom sharing, internal knowledge management, and natural resource consumption indexes such as resource consumption and conservation.
 The following recommendations are made as a result of this study. First, the communities should found their own self-governing organizations in order to strengthen their educational network and to cooperate with the government in order to develop communities efficiently. Next, local governmental organizations should realize the importance of local development by setting development guidelines and allocating a sufficient budget for each community. Last, the national government should encourage local education and participation of community members in order to increase community development potential, and should conserve local knowledge and educational resources.
ผู้แต่ง: วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ Varnadharma Kanchanasuvarna
คำสำคัญ: ชุมชน ชุมชนเข้มแข็ง กระบวนการจัดการชุมชนเข้มแข็ง Community, Strong Community, Management for strengthening community
ประเภท: รัฐประศาสนศาสตร์
หน้าที่: 119-158

credit : 
http://journal.nida.ac.th/journal/index.php?option=com_content&view=article&id=1179%3A-management-process-for-strengthening-communities-patterns-factors-and-indicators&catid=194%3A-8-2-53&Itemid=69&lang=th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น